|
|
Spyware
ไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับพวกเราชาวอินเทอร์เน็ตอีกต่อไปแล้วล่ะ เพราะวันๆ
พวกเราได้บริโภคข่าวสารข้อมูลแทบทุกรูปแบบจากอินเทอร์เน็ต
ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บไซต์ , การรับอีเมล์ , ดาวน์โหลดไฟล์ ,
ตลอดจนการแลกเปลี่ยนไฟล์ข้ามเครื่องระหว่างผู้ใช้งานด้วยกันเอง
พูดแบบตรงไปตรงมาก็คือ
เราคงหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องเผชิญหน้ากับเจ้าตัวร้ายเหล่านี้ครับ
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเครื่องเราติด Spyware แม้ Spyware ไม่ใช่ไวรัส
แต่ความร้ายกาจกลับไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า โปรแกรม Spyware เป็นโปรแกรมตัวเล็กๆ
ที่อาจซ่อนเร้นแอบแฝงมากับ อีเมล์ , หน้าเว็บ(โดยเฉพาะเว็บไซต์ต้องห้ามหรือติดเรท)
, การดาวโหลดไฟล์และแลกเปลี่ยนไฟล์จากบุคคลหรือองค์กรที่เราไม่รู้จัก
ผู้ใช้งานที่โดน Spyware เล่นงานจะได้รับผลกระทบแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและความสำคัญของหน้าที่การงานของบุคคลนั้นๆ
อาการของเครื่องที่โดน
Spyware
โดยหลักๆ
แล้วมีลักษณะอาการจากการติด Spyware พอสังเกตได้ดังนี้ครับ
1. มักมีหน้าต่าง Pop up
ขึ้นมาบ่อยครั้งหรือทุกๆ ครั้งที่เข้าเว็บไซต์ ในทุกๆ
เว็บไซต์ซึ่งก่อนหน้านี้
ไม่เคยพบอาการผิดปกตินี้
2.
มีทูลบาร์หรือแถบปุ่มเครื่องมือแปลกเพิ่มขึ้นในโปรแกรม Browser โดยเฉพาะโปรแกรม
Internet Explorer
3. หน้า Desktop
มีไอคอนประหลาดๆ เพิ่มขึ้น และเมื่อเราทำการดับเบิ้ลคลิก
ก็จะเข้าเว็บแปลกๆ
4.
ทุกครั้งที่เปิดโปรแกรม Internet Explorer เว็บไซต์หน้าแรกที่ปรากฏมักเป็นเว็บแปลกๆ
คล้าย
เว็บรวมลิ้งค์หรือเว็บโฆษณา ซึ่งเราไม่ได้เคยตั้งค่าเอาไว้
5.
เว็บใดที่เราไม่สามารถเข้าได้ หน้าเว็บแปลกๆ ก็เข้ามาแทนที่
6. คอมพิวเตอร์ทำงานช้า
เอามากๆ ทั้งที่ก็ไม่ได้เปิดโปรแกรมอะไรมากมาย
7.
ใช้คอมพิวเตอร์ไปไม่นานก็รีสตาร์ทหรือชัตดาวน์เอง
Microsoft ( เจ้าเดิม) คงทนเห็น Spyware ปู้ยี่ปู้ยำทั้งเจาะทั้งขุดระบบปฏิบัติการ Windows ของตนไม่ไหว จึงได้ตัดสิงใจคิดค้นพัฒนาสุดยอดโปรแกรม AntiSpyware ชื่อ Microsoft Windows AntiSpyware มาสกัดทันที และแม้จะยังเป็นเวอร์ชั่น Beta ( ทดลองใช้ก่อนเปิดใช้จริง ) แต่ก็ถือได้ว่าเป็นโปรแกรมจัดการ Spyware ที่ดีและน่าใช้งานในระดับแนวหน้าเลยทีเดียว (คิดว่าไม่นานก็น่าจะขึ้นอันดับเป็นอันดับหนึ่งอีกตามเคย)และยังมีอีกโปรแกรมหนึ่งคือ Ad-ware |
|
ผู้ประกาศ
สำนักงานปลัดกระทรวง ที่มา http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=1513&filename=index |
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
Spyware
เคล็ดลับการใช้ IE
|
รู้จัก cloud computing
หากแปลแบบตรงตัว อาจจะเรียกว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (อังกฤษ: cloud
computing) เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต
ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้
โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น
การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ
เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของเวอร์ชัวไลเซชันและเว็บเซอร์วิส
โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น
สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาให้คำจำกัดความ "cloud" ว่า
มันเป็นอุปลักษณ์ จากคำในภาษาอังกฤษที่แปลว่า เมฆ กล่าวถึงอินเทอร์เน็ตโดยรวม
ในรูปของโครงสร้างพื้นฐาน (เหมือนระบบไฟฟ้า ประปา)
ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งานเมื่อมีความต้องการใช้ผู้ให้บริการการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆส่วนใหญ่
จะให้บริการในลักษณะของเว็บแอปพลิเคชันโดยให้ผู้ใช้ทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์
ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์และข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ
การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น
ถูกอธิบายถึงโมเดลรูปแบบใหม่ของเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่เน้นการขยายตัวได้อย่างยืดหยุ่น
สามารถที่จะปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และมีการจัดสรรทรัพยากรโดยเน้นการทำงานระยะไกลอย่างง่าย ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานตัวอย่างของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่เป็นที่รู้จัก เช่น ยูทูบ
โดยที่ผู้ใช้สามารถเก็บวิดีโอออนไลน์ได้
โดยไม่ต้องมีความรู้ในการสร้างระบบวิดีโอออนไลน์ หรือ
ในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น
การบริการบนระบบ
การบริการบนระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆสามารถ แบ่งรูปแบบของชั้น ดังนี้
-
การให้บริการซอฟต์แวร์ หรือ Software as a Service (SaaS) จะให้บริการการประมวลผลแอปพลิเคชันที่แม่ข่ายของผู้ให้บริการ และเปิดให้การบริการทางด้านซอฟแวร์ต่างๆ
-
การให้บริการแพลทฟอร์ม หรือ Platform as a Service (PaaS) เป็นการประมวลผล ซึ่งมีระบบปฏิบัติการ และการสนับสนุนเว็บแอปพลิเคชันเข้ามาร่วมด้วย
-
การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure as a Service (IaaS) เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน มีประโยชน์ในการประมวลผลทรัพยากรจำนวนมาก
-
บริการระบบจัดเก็บข้อมูล หรือ data Storage as a Service (dSaaS) ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ไม่จำกัด รองรับการสืบค้นและการจัดการข้อมูลขั้นสูง
-
บริการร่วมรวมลำดับความเชื่อมโยง หรือ Composite Service (CaaS) คือส่วนทำหน้าที่รวมโปรแกรมประยุกต์ หรือจัดลำดับการเชื่อมโยงแบบ workflow ข้ามเครือข่าย รวมถึงการจัดการด้านความปลอดภัย
เนื่องจาก cloud computing จะต้องรองรับผู้ให้บริการจำนวนมาก
และผู้ใช้บริการก็มีความคาดหวังไว้ว่า บริการหรือ applications
ที่ได้นั้นจะต้องเป็นไปด้วยความรวดเร็ว,ปลอดภัย และ พร้อมที่จะใช้งานอยู่เสมอ
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใดก็ตาม ดังนั้น ผู้ให้บริการ cloud computing
จะต้องมีการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure)
ของระบบที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- Transparency -ใน clound computing จะต้องมีการใช้ Transparent load-balancing คือ ความพยายามที่จะทำให้เกิด balance ในการทำงานเมื่อมีการเรียกใช้ application จากผู้ใช้หลายๆคนพร้อมกัน โดยจะกระจาย load หรืองานไปให้เครื่องหรือ server อื่นๆเพื่อช่วยในการทำงาน อย่างเช่น ปกติการให้บริการจะ run อยู่บน server ตัวเดียว แต่เมื่อไหร่ก็ตามมีผู้ใช้งานจำนวนมากและจำเป็นต้องใช้ server เพิ่มขึ้น transparency จะอนุญาตให้มีการประสานงานกับ server อื่นๆได้โดยที่ไม่ต้องขัดจังหวะการทำงานหรือต้องติดตั้งระบบกันใหม่ อย่างนี้เป็นต้นส่วน application deliveryหรือการให้บริการระบบงาน จะช่วยตอบสนองความต้องการให้ application และข้อมูลทุกรูปแบบได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนและเวลาใดก็ตาม
- Scalability คือ สามารถปรับขนาดระบบได้ตามภาระงาน
- Intelligent Monitoring มีระบบที่สามารถตรวจสอบได้ว่า application หรือ service มีปัญหาอะไร ตรงไหนบ้าง
- Security เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ใน cloud ซึ่งก็มีความเสี่ยงอยู่เหมือนกันที่ข้อมูลสำคัญๆอาจจะถูกขโมยหรือเกิดความเสียหายจากการโจมตีระบบได้ ดังนั้นสถาปัตยกรรมของ cloud computing จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับต้นๆ
รูปแบบของ cloud แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
- Public clouds มี server จำนวนมากและตั้งอยู่หลายๆที่ ซึ่งผู้ใช้จะใช้บริการผ่าน web application หรือ web service
- Private cloud ผู้ใช้บริการเป็นผู้บริหารจัดการระบบเอง โดยจะมีการจำลอง cloud computing ขึ้นมาใช้งานใน network ส่วนตัว รูปแบบนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายเพราะมีการแชร์ทรัพยากรร่วมกัน และ มีความสะดวกเนื่องจากผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้งระบบและดูแลรักษาให้
- Hybrid cloud ประกอบขึ้นด้วยผู้ให้บริการแบบ public และ private ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางระบบ enterprise
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)